Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
คนไทยเครียดขึ้นทุกวัน แต่กลับมีจิตแพทย์ ไม่เพียงพอ
เมื่อความเครียด ในสังคมไทย ทำให้คนไทยเครียดเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ทำไม จิตแพทย์ไทย จึงยังไม่พอต่อความต้องการ?
หลังจากเกิดวิกฤตโรคระบาด COVID-19 การทำมาค้าขายของหลายๆ คน ก็แย่ลงตามๆ กัน เครียดกันทุกย่อมหญ้า บางคนวิตกกังวล จนเกิดโรคซึมเศร้าตามมา แต่ในประเทศไทย กับพบว่า ในต่างจังหวัดนั้น จิตแพทย์ หรือผู้ให้คำปรึกษา กับมีน้อยมากๆ น้อยจนไม่พอให้บริการคนไข้ จนหลายๆ คนต้องเดินทาง เข้าสู่เมืองใหญ่ ที่ต้องรอคิวนานๆ เพื่อรับคำปรึกษา
ทุกวันนี้ จิตแพทย์ไทยมีจำนวณไม่เพียงพอ ที่จะให้บริการคนไข้ ที่มีมากขึ้นในทุกๆ วัน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะชินชา สำหรับประเทศๆ นี่ ประเทศที่มีสถิติ คนฆ่าตัวตาย เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และสาหตุหลักที่คนเข้ามารับการรักษา ก็มาจากปัญหาทางสังคม และนี่เป็นสถิติ จากกรมสุขภาพจิต ข้อมูลปี 62 โดยอัตราการการฆ่าตัวตาย คิดเป็น ร้อยละ 6.64 ต่อ 1 แสนคน
สูงที่สุดในรอบ 14 ปีผ่านมา และสูงขึ้นเรื่อยๆส่วนช่วงอายุที่ฆ่าตัวตายมากที่สุดปี พ.ศ.2562 คือกลุ่มคนอายุ 30-39 ปีหรือวัยทำงานนั่นเอง โรคซึมเศร้าคือโรคที่มีคนเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แม้ในประเทศไทยหลายคนอาจจะยังคงมองว่าเป็นโรคที่ไม่ได้สำคัญอะไร แต่ช่วงหลังๆ มานี้ มีข่าวการฆ่าตัวตายมากขึ้น ความเครียดจากปัญหาสังคมมากมายถาโถมทำให้บทบาทของจิตแพทย์เด่นชัด
โดยปัจจุบันจำนวนจิตแพทย์ ที่ขึ้นทะเบียนกับวิทยาลัยจิตแพทย์มีทั้งสิ้น 1,047 คน แต่ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี จำนวนจิตแพทย์ตอนนี้ อาจไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ซึ่งการผลิตแพทย์ได้จำนวนน้อยเป็นหนึ่งในปัญหาของการขาดแคลนแพทย์ และก็ไม่ใช่แค่สาขาจิตเวชสาขาเดียว ยังมีแพทย์อีกหลายสาขาที่ยังขาดแคลนบุคลากรอยู่ในปัจจุบัน
Young MATTER ไปคุยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงการแสดงความคิดเห็นต่อวงการอาชีพจิตแพทย์กับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมที่ส่งผลต่อการเป็นผู้ช่วยการใช้ชีวิตของผู้คน สาเหตุของการไม่เพียงพอ เกิดจากอะไร
วิชาเรียนยากเกินไปไหม คนส่วนใหญ่จึงไม่เลือกมาเรียนหรือเปล่า ถ้าเป็นแพทย์ทั่วไป ปัญหาอาจจะไม่ใช่จำนวน แต่เป็นการกระจายตัวในจังหวัดต่างๆ แต่ถ้าเป็นสาขาย่อย สาขาขาดแคลนมีคนเรียนน้อย ก็จะมีปัญหาทั้งจำนวนและการกระจายตัวไปสู่ภูมิภาค จะเป็นจิตแพทย์ที่เป็นสาขาเฉพาะทางของอาชีพแพทย์ ต้องเรียนจบแพทย์ 6 ปี
ก่อนแล้วเลือกมาต่อทางด้านจิตเวช อบรมเพิ่มความชำนาญ เฉพาะโรคทางจิตเวช การรักษาด้วยยาและจิตบำบัด ส่วนใน 6 ปีนั้นไม่ใช้วิชาหลัก แต่เป็นวิชารองเท่านั้น “หมอคนหนึ่งต้องเรียนเน้นไปทางอายุรกรรม คือการรักษาโรคทั่วๆ ไป หัวใจตับปอด และก็เน้นไปทางศัลยกรรม ผ่าตัด หรือเน้นไปทางการแก้ปัญหาฉุกเฉิน ประสบอุบัติเหตุมา เย็บแผล
และเรื่องของการทำคลอด การดูแลเด็ก โรคติดต่อ วิชาพวกนี้หน่วยกิตเยอะ เรียกว่าเป็นสาขา major ส่วนจิตเวชเป็นสาขา minor ไม่ได้เน้นหรือออกสอบมาก ซึ่งผมคิดว่าถูกต้องแล้วในแง่การจบมาเพื่อทำงานเป็นแพทย์ทั่วไป ดังนั้นน้องๆ หมอเขาจบมารุ่นนึง ก็เลือกเรียนต่อสาขาหลักๆ เป็นส่วนใหญ่ เรียนต่อจิตเวชกันน้อยหน่อย”
เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงทำงานจริง หมอก็จะทำงานเป็นแพทย์ทั่วไปก่อน แต่ละโรงพยาบาล(ภาครัฐ)จะให้ทุนส่งให้กลับมาเรียนเฉพาะทางแต่ละด้าน คือ ทำสัญญาว่าเมื่อเรียนเฉพาะทางจบต้องกลับมาทำงานให้ที่โรงพยาบาลนี้ เวลาสองเท่าหรือสามเท่าก็ว่าไป เรียนสามปี ทำงานห้ามลาออกไปไหนหกปี ไม่งั้นก็ต้องจ่ายเงินชดเชยกี่บาทๆ ก็ว่าไป
“ทางผมซึ่งเป็นสถาบันฝึกอบรมจะรับใครมาเรียนก็ต้องทำตามกฎของแพทยสภา คือเขาขอให้พิจารณาผู้รับทุนจากโรงพยาบาลของรัฐมาเรียนก่อน นัยว่าเพราะตามความจำเป็นของท้องที่ ใครที่ไม่มีต้นสังกัดให้พิจารณาหลังๆ มันก็วุ่นๆ นิดนึงตรงเด็กจบใหม่อยากเรียนอะไรก็ต้องมองหาสถานที่ปฏิบัติงานที่จะให้ทุน”
จากแนวคิดจึงมีความเป็นไปได้ว่า อาจช่วยควบคุมการกระจายตัว
เพราะถ้าโรงพยาบาลไหนมีหมอสาขานั้นเยอะแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ทุนสาขานั้น โรงพยาบาลจังหวัดไหนยังไม่มีจิตแพทย์ ก็อาจจะเปิดทุนให้หมอไปเรียน เพื่อกลับมาทำงานให้ แต่ระบบนี้พอหมอเรียนจบเฉพาะทาง กลับไปทำงาน อาจจะไม่ลงตัวกับสถานที่กับรูปแบบงาน ก็ขอลาออก ยอมจ่ายเงินชดเชยกันไปอยู่ดี หรือต่อให้บางโรงพยาบาล เปิดตำแหน่งอาจจะไม่มีหมอไปสมัคร
“ส่วนเรื่องสาขานี้เรียนยากไหม ก็คงไม่ เป็นที่รู้กันสมัยเรียนว่า อาจารย์สาขาจิตเวชมักจะใจดีนะครับ ไม่ได้ออกข้อสอบยาก ส่วนตอนเรียนเฉพาะในเชิงรูปแบบงานไม่ได้หนัก ความยากของวิชาการเทียบแล้วก็ไม่ได้ท่องจำหนักหนานัก เมื่อเทียบกับสาขาอื่น แต่ถ้าใจไม่ได้รักทางนี้ ฝืนๆ เรียนคงลำบากใจ” ด้านสถิติและจำนวนประชากร
หากเทียบหลักสากลแล้ว ตามองค์การอนามัยโลกประเมินเป็น จำนวนจิตแพทย์ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในประเทศพัฒนาแล้ว อาจจะมีจิตแพทย์ประมาณ 10 ต่อหนึ่งแสนคนหรือ 6 ต่อหนึ่งแสนคน แต่สำหรับประเทศไทยนั้น หากลองเทียบจำนวนประชากร กับจำนวนหมอที่มีอยู่ตอนนี้ จิตแพทย์มีประมาณ 1000 คนนิดๆ
เทียบกับประชากร 60 ล้านคน แน่นอนว่ามันไปไม่ถึงแน่ๆ แต่ก็ยังอยู่ในมาตรฐานที่ไม่แย่ในระดับโลก แต่ก็อาจดีกว่านี้ถ้ามีการผลิตเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในด้านการปฎิบัติงานให้บริการ การที่จะผลิตให้จิตแพทย์ เพิ่มจำนวนนั้นยังคงถือเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ช้า เพราะต้องใช้เวลาเทรนจิตแพทย์ทั่วไปสามปี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นสี่ปี
ปกติในหนึ่งปีจะมีจิตแพทย์ที่เรียนจบมาเพิ่ม 20-30 คนเท่านั้น ปัจจุบันก็มีแพทย์จบใหม่หันมาสนใจเรียนจิตเวชพอสมควร แต่เรื่องของคุณภาพของบุคลากรที่จะจบออกไป จะอิงจากระบบมาตรฐานของ Basic Medication World Federation for Medical Education (WFME) ซึ่งเป็น Global Standards หรือ เกณฑ์มาตรฐานในการคัดเลือกผู้เรียน ว่าที่สมัครมาคุณสมบัติผ่านไหม
แถมตัวสถาบันฝึกอบรมจะเปิดโควตาเรียนเพิ่มไหม ในคลาส จะรับจำนวนนักเรียนมาเรียนประมาณ 10-20 คนไม่ได้เพราะต้องควบคุมคุณภาพ หลักสูตร จำนวนอาจารย์ต่อคนเรียน จำนวนคนไข้ จำนวนกิจกรรมอบรม ที่ได้กำหนดไว้แล้ว เลยส่งผลให้ผลิตได้น้อย หรือจะเปิดสถาบันที่จะพร้อมเทรนเพิ่มก็ยาก แถมระหว่างแพทย์รุ่นใหม่จบมาเพิ่ม แพทย์รุ่นอาวุโสก็เกษียณไปบ้าง หรือขึ้นไปทำงานบริหารไม่ได้ออกตรวจ จำนวนจึงไม่ค่อยเพิ่มขึ้น
ปัญหาด้านการกระจุกตัวของแพทย์ในเมืองหลวง ความขาดแคลนบุคลากรแพทย์และการบริการในต่างจังหวัด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น มีความสะดวกสบายในทุกด้าน รวมไปถึงการได้รับบริการสวัสดิการต่างๆ อย่างทั่วถึง หลายคนอาจจะเคยเจอกันบ้างกับการต้องรอคิวนานๆ
ตามโรงพยาบาล โรงพยาบาลไม่สามารถรับเคสนี้ได้ต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมกว่า หรือแม้กระทั่งแพทย์เฉพาะทางบางแผนกก็ยังไม่มีในบางโรงพยาบาลนั้น จิตแพทย์เป็นอีกสาขาหนึ่งทางการแพทย์ที่ขาดแคลนในบางจังหวัด
อาจารย์ภุชงค์ชวนดูว่า ถ้าคิดดีๆ ก็ต้องเห็นใจทั้งสองด้าน
หากมองฝั่งคนไข้ ในจังหวัดทุรกันดารหรือห่างไกลความเจริญ ไม่ต้องคุยเรื่องมีจิตแพทย์อย่างเดียว เพราะไม่ว่าหมอสาขาใดหรือไม่ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีหรือทรัพยากรอะไรก็ตาม มันกลายเป็นว่าต้องเข้าไปเมืองใหญ่ เพื่อจะแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า มันคือการดิ้นรนประมาณหนึ่ง บางทีไม่ใช่ว่าจังหวัดของเขาไม่มีนะ แต่ว่าคนไข้อาจจะไม่ไว้ใจ
อย่างเช่น สมมติอยู่ในภาคอีสาน ก็ไปที่ขอนแก่นกันเลยดีกว่า เพราะเค้ารู้สึกว่าที่นั่นมีหมอดัง หรือเข้ากรุงเทพฯ มาเลยดีกว่า เพราะรู้สึกกรุงเทพฯ น่าจะเก่งกว่า ก็เข้าศูนย์กลางกันเยอะ ปริมาณงานที่ศูนย์กลางเลยเยอะ ก็เข้าใจได้ แต่หากมองในมุมมอง จากฝั่งวงการแพทย์แล้ว ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข ว่าจังหวัดไหนมีตำแหน่งอะไรยังไงบ้าง
แต่การมีตำแหน่งตรงนั้น ต้องขึ้นกับว่ามีคนมารับตำแหน่งไหม มีคนสนใจเอาทุนของจังหวัดไปเรียนหรือเปล่า หรือต่อให้เอาทุนของจังหวัดนั้นไปเรียน พอกลับบ้านไปทำงาน งานมันน่าทำอยู่ไหมก็ส่วนนึง เพราะหมอเองก็มีชีวิตจิตใจของ เขาจะชอบอยู่ตรงจังหวัดนั้นไหม หรืออยู่ตรงนั้นแล้วกดดันไหม พี่ๆ หรือเพื่อนร่วมงานโอเคหรือเปล่า
หากเขารู้สึกว่าอยู่แล้วไม่มีความสุข ก็ต้องลาออกเขาก็ควรมีสิทธิ์นั้น เพราะเป็นชีวิตของเขา ไม่ใช่ว่าต้องเขาเสียสละกันอย่างเดียว อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ จากบทสนทนากับอาจารย์ภุชงค์คือเรื่องของสวัสดิการและโครงสร้างทางสังคมที่เกิดขึ้นทั้งกับคนไข้และแพทย์
ขอบคุณแหล่งที่มา : thematter.co
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : heavensgaterivercottages.com
Economy
-
หุ้นท่องเที่ยวดี
หุ้นท่องเที่ยวดี
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ ปิดที่ 1,626.80 จุด บวก 9.25 จุด มีมูลค่าซื้อขาย 29,439.53 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 34.94 ล้านบาท
หุ้นไทยปรับตัวขึ้นตามตลาดหุ้นต่างประเทศ จากแรงซื้อหุ้นใหญ่นำโดยกลุ่มพลังงานและอิเล็กทรอนิกส์ และคาดหวัง การทำ Window Dressing และเม็ดเงิน SSF & RMF ไหลเข้าโค้งสุดท้ายปลายปี
บล.เอเซียพลัส ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า จีนมีทิศทางการผ่อนคลายมาตรการ COVID-19 ดีขึ้นต่อเนื่อง เป็นครั้งแรกที่มีการยกเลิกมาตรการกักตัวผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ แต่ยังคงต้องตรวจ PCR ก่อนขึ้นเครื่องจากประเทศต้นทาง 48 ชั่วโมง โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.66
ทั้งนี้ หลังจากทางการจีนประกาศมาตรการดังกล่าว ส่งผลให้ยอดค้นหาเที่ยวบินระหว่างประเทศของจีนพุ่งขึ้นทันทีกว่า 7 เท่า สร้างความคาดหวังต่อภาคการท่องเที่ยว ภาคการค้า การจับจ่ายใช้สอยให้กลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจจีน ขยายตัวต่อได้ในปีหน้า (IMF คาดปี 66 จีนขยายตัว 4.4%YoY) และดีต่อหุ้นท่องเที่ยว
ส่วนกรณีที่ รมว.พลังงาน เผยว่า นายกรัฐมนตรีสั่งให้ทบทวนราคาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ให้ถูกลงกว่า 190.44 สตางค์/หน่วย (งวดเดือน ม.ค.-เม.ย.2566) หรือเป็นค่าไฟเฉลี่ยที่เรียกเก็บกับประชาชน 5.69 บาท/หน่วย
ประเด็นนี้ เอเซียพลัส คาดเป็นหนึ่งแรงขับเคลื่อนให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงในอนาคต โดยประเด็นเรื่องเงินเฟ้อสูง และการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของ กนง.ต่อ ถือเป็นอีกประเด็นที่คอยรบกวน และจำกัด Ups ตลาดหุ้นไทยในปี 66 โดยปัจจุบันประเมินดัชนีเป้าหมายปี 66 ภายใต้สมมติฐานดอกเบี้ย 1.5% อิงกับ MEYG เฉลี่ย 4.2% จะได้ P/E ที่เหมาะสม 17.4 เท่า เมื่อคูณกับ EPS66F 99.2 บาท/หุ้น (เติบโต 6%) จะได้ Target SET 1,740 จุด!!
ด้าน บล.โกลเบล็กประเมินหุ้นไทยสัปดาห์สุดท้ายของปี 65 แกว่งแคบ เนื่องจากใกล้วันหยุดยาว บวกกับไม่มีปัจจัยใหม่สนับสนุน แต่ยังคงต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่หลายคนกังวลว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 66 และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ จึงให้กรอบดัชนีที่ 1,605-1,630 จุด
แนะกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์การท่องเที่ยวฟื้น ชู MINT-CENTEL-ERW น่าลงทุน!!
ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : heavensgaterivercottages.com
Latest News
สูตรการเดิมพัน คาสิโนออนไลน์ เรื่องจริงที่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ในยุคปัจจุบัน สูตรการเดิม...
คอนเต้ ตำหนิผู้เล่นท็อตแนม’เห็นแก่ตัว’หลังเสมอเซาแธมป์ตัน
อันโตนิโอ คอนเต้ วิจารณ์ ...
รือดิเกอร์ ย้ำเพื่อนร่วมทีมห้ามเริ่มเกมเหมือนนัดแรก
อันโตนิโอ รือดิเกอร์ เตือ...