ปลาทอง

นักวิทยาศาสตร์ไขความลับ ทำไมปลาทอง จึงมีชีวิตอยู่ในทะเลสาบ ที่มีน้ำแข็งปกคลุมได้

จากผลงานวิจัย ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Scientific Reports โดยในเนื้อกหาระบุไว้ว่า ในกระบวนการร่างกายของปลาทองนั้น จะมีการเปลี่ยน กรดแลคติก ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ เพื่อความอยู่รอด ในการใช้ชีวิต ซึ่งจากการตรวจสอบนั้น พบว่าปริมาณที่พบในบางตัว ถือว่าสูงมากกว่า ระดับมาตราฐานที่กฎหมายกำหนด ให้เหล่านักขับที่เป็นมนุษย์เสียอีก

และจากการศึกษาเหล่านี้นั้น ก็สามารถเอาไปต่อยอด ถึงผลกระทบในมุษย์ จากแอลกอฮอล์ ในมนุษย์ และข้อสรุปใหม่เหล่านี้ เป็นผลจากงานวิจัยเพิ่มเติม จากงานวิจัยเมื่อปี 1980 ที่บ่งชี้ว่า ปลาทองและปลาสายพันธุ์ใกล้เคียง ไกในระดับโมเลกุลที่แตกต่าง จนทำให้ปลาทอง สามารถการอยู่รอดได้ในน้ำเย็นจัด

ปกติแล้ว สัตว์ทั่วไปจะมีโปรตีนกลุ่มเดียว ทำหน้าที่ลำเลียงคาร์โบไฮเดรตไปยังไมโตคอนเดรีย ซึ่งเป็นเซลล์แหล่งสะสมพลังงาน โดยในภาวะที่ขาดออกซิเจน การนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้งานจะก่อให้เกิดกรดแลคติกซึ่งร่างกายของปลาทองไม่สามารถกำจัดออกได้ และจะทำให้มันตายภายในไม่กี่นาที

แต่ปลาทองโชคดี ที่วิวัฒนาการโปรตีนอีกชุดหนึ่งขึ้นมาทำงานแทนในภาวะที่ขาดออกซิเจน และจะเปลี่ยนกรดแลคติกเป็นแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถขับออกผ่านทางเหงือกได้ ดร.ไมเคิล เบเรนบริงค์ จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร กล่าวกับบีบีซี ว่า “หนทางที่สองนี้ จะทำงานเฉพาะเวลาขาดออกซิเจนเท่านั้น”

หรือ “ในภาวะที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็งด้านบนมาปิดไม่ได้ปลาทองหายใจรับออกซิเจนได้ ก็จะมีการเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์” และยิ่งอยู่ในน้ำที่เป็นน้ำแข็ง ที่ไม่มีอากาศนานเท่าไร ระดับแอลกอฮอล์ในตัวปลาทองก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ปลาทอง
แล้วปลาทองเมาหรือเปล่า?

“หากนำมาวัดตอนออกไปเก็บข้อมูลภาคสนาม จะพบว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เพิ่มขึ้นสูงกว่า 50 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตสำหรับผู้ขับขี่ในสกอตแลนด์และหลายประเทศในยุโรปตอนเหนือ” “ดังนั้นแปลว่า พวกมัน ‘เมา’ นั่นเอง” แม้ว่าปลาทองจะมีแอลกอฮอล์อยู่ในร่างกาย

ภาวะคล้ายคนที่ดื่มจนเมานี้กลับไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ปลาตาย แต่เป็นกรณีที่ฤดูหนาวนานเกินไปมากกว่า เพราะปลาทองจะใช้พลังงานจากตับจนหมดและตายไปในที่สุด นักวิจัยระบุว่าได้บทเรียนสำคัญจากการค้นพบนี้ เกี่ยวกับวิวัฒนาการการปรับตัวของสัตว์ ซึ่งสามารถผลิตยีนซ้ำอีกชุด มาช่วยให้สามารถมีชีวิตต่อได้เป็นปกติ เหมือนเป็นยีนชุดสำรองที่มีประโยชน์

ดร.แคธริน อลิซาเบธ ฟาเกอร์เรส จากมหาวิทยาลัยออสโล ของนอร์เวย์ กล่าวว่า “การผลิตเอทานอล ช่วยให้ปลาคาร์ปในวงศ์ครูเชียน เป็นปลาสายพันธุ์เดียวที่มีชีวิตอยู่รอด และใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากได้ คือการหลีกเลี่ยงสัตว์อื่นมาแย่งอาหารและสัตว์นักล่า ซึ่งจะอยู่ได้ดีกว่าในสภาพน้ำที่มีออกซิเจน”

“ยิ่งทำให้ไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมปลาทองจึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่ทนทานของมนุษย์”

นอกจากนี้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่เขียนงานวิจัยฉบับดังกล่าว ยังคำนวณเล่นๆ ว่าจะใช้เวลานานเท่าไรถึงจะผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากสารคัดหลั่งของปลาได้ โดยดร. เบเรนบริงค์ กล่าวว่า “หากนำปลาทองใส่ลงไปในแก้วเบียร์และปิดไว้ แล้วทิ้งไว้ 200 วัน ถึงจะได้แอลกอฮอล์ในระดับร้อยละ 4 และนั่นไม่มีทางเป็นไปได้ในธรรมชาติ”

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : heavensgaterivercottages.com